การอ่านกราฟสำหรับนักลงทุนนั้น กราฟที่ได้รับความนิยมจากนักเทรดก็คือ กราฟแท่งเทียน หรือ candlestick chart สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่เมื่อเปิดหน้าจอมาเจอกราฟแท่งๆ ก็จะรู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าจะต้องอ่านอย่างไร? ซึ่งบทความนี้เป็นบทความที่จะสอนการอ่านกราฟสำหรับเทรด bitcoin ที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆและนำไปปรับใช้ได้ในระยะเวลาสั้นๆได้
กราฟแท่งเทียนคืออะไร?
กราฟแท่งเทียน เป็นแผนภูมิทางการเงินประเภทหนึ่งที่แสดงถึงการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์ในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งแต่ละแท่งแสดงถึงระยะเวลาที่เท่ากัน แท่งเทียนสามารถแสดงถึงช่วงเวลาใดก็ได้ตั้งแต่วินาทีถึงปี ต้นกำเนิดของกราฟแท่งเทียนนี้มาจากพ่อค้าข้าวชาวญี่ปุ่นชื่อ Homma ซึ่งแสดงการเคลื่อนไหวของราคาในแต่ละวัน หลังจากนั้นก็ได้รับการปรับปรุงต่อจาก Charles Dow และใช้มาจนถึงทุกวันนี้
กราฟแท่งเทียนอ่านอย่างไร?
แท่งเทียนแต่ละแท่งมีความหมายดังต่อไปนี้
- ราคาเปิด (Open) – ราคาซื้อขายแรกของแท่งเทียนแท่งนั้น
- ราคาสูง (High) – ราคาซื้อขายสูงสุดของแท่งเทียนแท่งนั้น
- ราคาต่ำ (Low) – ราคาซื้อขายต่ำสุดของแท่งเทียนแท่งนั้น
- ราคาปิด (Close) – ราคาซื้อขายล่าสุดของแท่งเทียน (จบแท่งเทียนนั้น)
สีของกราฟจะขึ้นอยู่กับการปรับตั้งค่าของเทรดเดอร์ ส่วนใหญ่นิยมใช้สีแดง – สีเขียว หรือ สีขาว – สีดำ แท่งขาขึ้นหรือสีเขียว จะมีราคาปิดสูงอยู่ด้านบนของแท่งเทียนหรือ High ส่วน แท่งขาลงจะมีราคาปิดที่ด้านล่างหรือ Low เมื่อฝึกอ่านราคาจนเข้าใจแล้ว การเลือกใช้กรอบเวลาหรือ Time Frame ให้เหมาะสมกับระบบการเทรดที่ต้องการ
กรอบเวลายอดนิยมที่เทรดเดอร์ใช้บ่อยที่สุด ได้แก่
- กราฟ 15 นาที (M15) เหมาะกับนักเทรดระยะสั้น (intra-day) ไม่เก็บออเดอร์ข้ามวัน
- กราฟรายชั่วโมง (H1) เหมาะกับนักเทรดระยะสั้น (intra-day)
- กราฟ 4 ชั่วโมง (H4) เหมาะกับนักเทรดระยะยาว อาจจะถือออเดอร์ข้ามสัปดาห์หรือเป็นเดือน
- กราฟรายวัน (D1) เหมาะกับนักเทรดระยะยาว ถือออเดอร์ข้ามเดือนหรือเป็นปี และมักจะใช้ตีแนวรับแนวต้านเพื่อเทรดในกรอบเวลาสั้นๆ
การอ่านเทรน หรือแนวโน้มจากกราฟแท่งเทียนแบบง่ายๆ
การอ่านเทรนจากกราฟมีวิธีการง่ายๆที่จะช่วยให้เทรดเดอร์ได้มองออกว่าตอนนี้เป็นขาขึ้นหรือขาลง โดยใช้เครื่องมือจาก MT4 หรือ แพลตฟอร์มที่เทรดเดอร์ใช้งาน มีเครื่องมือดังต่อไปนี้
1.Moving Average (MA)
MA เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่เทรดเดอร์ต้องเรียนรู้เพื่อใช้งานเพราะเข้าใจง่าย การตั้งค่าเพื่ออ่านเทรนนั้นจะตั้งค่าเป็น EMA 200 ช่วงกราฟใดที่อยู่ใต้เส้น EMA 200 จะเป็นเทรนขาลง และในทางกลับกัน กราฟที่อยู่เหนือเส้น EMA 200 ก็จะเป็นเทรนขาขึ้น
การเทรดตามเทรนขาขึ้นนั้น จะต้องรอให้กราฟย่อตัวลงแล้วค่อยเข้าออเดอร์ ซื้อ หรือ buy แล้วจะทราบได้อย่างไรว่ากราฟย่อตัวลงมาแล้วจะกลับตัวขึ้นเพื่อไปต่อ เทรดเดอร์สามารถมองหาแพทเทิร์นกราฟแท่งสัญญาณขาขึ้น โดยมองหากราฟรูปแบบกลืนกิน, ทหารขาว 3 นาย, morning star หรือ Hammer เป็นต้น หรือใช้เส้น EMA 50 อีกเส้นเพื่อเป็นจุดเข้าออเดอร์เมื่อเส้นนี้ ตัดกับเส้น EMA 200
สิ่งสำคัญคือ เทรดเดอร์ต้องแม่นยำในแพทเทิร์นแท่งเทียนสัญญาณขาขึ้นและลง หรือจะใช้อินดิเคเตอร์ช่วยยืนยันก็สามารถทำได้ เช่น Relative Strength Index (RSI) หรือ Oscillator ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่การฝึกฝนจนชำนาญและแม่นยำจะทำให้ระบบการเทรดทำกำไรได้ดีขึ้น
2. การตีเส้นเทรนไลน์ (drawing trend lines)
เส้นแนวโน้ม คือเส้นที่วาดที่มุมด้านบนหรือด้านล่างของราคา ใช้เพื่อบ่งชี้ถึงแนวโน้มในทันทีและระบุว่าเมื่อใดมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นแนวรับและแนวต้านและให้โอกาสในการเปิดและปิดตำแหน่งซื้อขาย
การตีเส้นเทรนไลน์ทำได้ดังต่อไปนี้
- แสดงการสวิงสูงสามครั้งในแนวโน้มขาลง โดยต้องลากเส้นให้อยู่เหนือราคา
- แสดงสวิงต่ำสามครั้งในแนวโน้มขาขึ้น โดยต้องลากเส้นไว้ด้านล่างราคา
เหตุผลคือจุดสูงสุดของขาลงและจุดต่ำสุดของขาขึ้นซึ่งจะกำหนดเส้นแนวโน้ม จำเป็นต้องมีสวิงสูงหรือต่ำสุดอย่างน้อยสองครั้งเพื่อวาดเส้นแนวโน้มในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
การตีเส้นเทรนไลน์ จุดประสงค์เพื่อดูแนวโน้มในขณะนั้นว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง แต่ก็มีเทรดเดอร์จำนวนมากสับสนว่าใช้ไส้เทียนหรือเนื้อเทียนดี ความเป็นจริง สามารถจะใช้ได้ทั้ง 2 อย่าง เส้นเทรนไลน์นอกจากจะใช้เพื่อดูแนวโน้มของตลาดในขณะนั้นแล้ว ยังใช้เป็นแนวรับ – แนวต้านได้อีกด้วย
กล่าวคือ หากกราฟแท่งเทียน พุ่งทะลุเส้นเทรนไลน์ที่เราได้ตีไว้ ก็จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนเทรนได้ และนอกจากนี้ยังใช้เป็นจุดเข้าเทรดหรือออเดอร์อีกด้วย โดยเงื่อนไขการเข้าออร์เดอร์ก็จะใช้หลักการก็คือ เมื่อกราฟแตะเส้นเทรนไลน์แต่ไม่ทะละ เทรดเดอร์เตรียมเข้าออเดอร์ buy หรือ sell ได้ทันทีเมื่อเห็นแท่งเทียนยืนยันขาขึ้นหรือขาลงนั่นเอง
บทความ แนะนำ ➡️ สอนเทรดคริปโต #2 การวิเคราะห์กราฟ แนวรับ – แนวต้าน
หมายเหตุ : ผู้ลงทุนควรพิจารณาถึงลักษณะความเสี่ยง และสภาพตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละชนิดอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้