การอ่านกราฟสำหรับ ethereum ไม่มีความแตกต่างไปจาก bitcoin แต่จะมีความแตกต่างจาก Forex เล็กน้อยตรงที่มีความผันผวนน้อยกว่า เทรดง่ายทำกำไรได้ดีกว่าฟอเร็กซ์มาก เทรดได้ตลอดเวลาทุกวันไม่มีวันหยุดแต่บางเหรียญคริปโตมีปริมาณการซื้อขายน้อย (Volum) กราฟจึงไม่ค่อยวิ่งเหมือนกับกราฟฟอเร็กซ์
กราฟที่นิยมใช้สำหรับเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะเป็นกราฟแท่งเทียน ซึ่งรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับแท่งเทียนนั้นมีข้อมูลมากมาย และได้กล่าวไว้บ้างแล้วจากบทความ ➡️ สอนเทรดคริปโต #1 พื้นฐานการอ่านกราฟเทรด bitcoin ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการสอนอ่านกราฟ ethereum ในระดับที่สูงขึ้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะทำความเข้าใจ
กราฟแท่งเทียน นอกจากจะนิยมใช้แพทเทิร์นสัญญาณบอกขาขึ้นและขาลง หรือ เทรนแล้ว ยังสามารถทำให้เราทราบถึงแนวรับ – แนวต้านได้ด้วย ตลาดมี 3 แนวโน้มด้วยกัน คือ ขาขึ้น, ขาลง และขยับออกด้านข้าง หรือ side way ซึ่งการดูแนวรับ – แนวต้าน จะทำให้เราสามารถมองเห็นโดยรวมของเทรนและการเข้าทำการซื้อขายอีกด้วย
แนวรับ – แนวต้าน (Support and Resistance) คืออะไร?
แนวรับ – แนวต้าน (Support and Resistance) คือ แนวระดับราคาที่จะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าที่มีแนวโน้นจะกลับเทรน ถ้าหากว่ากราฟขึ้นไปถึงแล้วถูกตีกลับลงมา ไม่สามารถทะลุแนวรับ – แนวต้านได้ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะซื้อที่แนวรับ, ขายที่แนวต้าน (buy at support and sell at resistance).
แนวรับ (support)
ระดับแนวรับคือที่ราคาของ ethereum มีแนวโน้มที่จะหยุดร่วงลง ดูจากกราฟด้านล่าง

จากกราฟจะเห็นแนวรับที่ระดับราคา 319.250 ที่ราคาร่วงลงมาถึง ก็จะหยุดและตีกลับขึ้นไป ภายในแนวรับ อาจจะมีแนวรับ-ต้านย่อยๆอีก ซึ่งการตีแนวรับ-ต้านนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของเทรดเดอร์ ไม่มีกฎตายตัว จุดพิจารณาแนวรับใหญ่คือ มีการร่วงลงมากระทบแล้วเด้งกลับไป เปลี่ยนให้เกิดเทรนหรือ ทำให้กลับตัวนั่นเอง แสดงว่าแนวรับนั้นมีแรงหนุนอย่างมีนัยสำคัญ ที่บริเวณแนวรับนี้ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะวางออเดอร์ซื้อ หรือ buy ไว้ล่วงหน้าตามการคาดคะเนว่าราคาจะดีดกลับขึ้นไปอีกรอบ
แนวต้าน (Resistance)
แนวต้าน (Resistance) คือจุดที่ราคาของกราฟ ETH หยุดเพิ่มขึ้น ดูภาพประกอบด้านล่าง

จากภาพเส้นแนวต้านของ ETH ที่กรอบเวลา D1 กำหนดไว้ที่ราคา 623.221 ซึ่งจะเป็นแนวต้านที่สำคัญถ้าหากคราวนี้ราคาไม่สามารถจะผ่านแนวนี้แล้วร่วงลงอีกครั้ง อาจจะส่งผลให้เกิดการกลับเทรนเป็นเทรนขาลงได้ โดยแนวรับสำคัญก็จะเป็น ราคา 484.974 โดยแนวต้านที่กำหนดไว้นี้ บรรดาเทรดเดอร์จะเตรียมเข้าออเดอร์ขาย หรือ Sell ไว้ แต่จะต้องรอดูแท่งเทียนยืนยันถึงการกลับตัวลงอีกครั้ง โดย Stop – loss จะถูกวางไว้ข้างหรือตามที่ระบบเทรดของแต่ละคนเซ็ตไว้
วิธีการเข้าเทรดตามแนวรับ – แนวต้าน
การเทรดตามแนวรับ – แนวต้านนั้น จากที่เคยกล่าวไว้ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะซื้อที่แนวรับ, ขายที่แนวต้าน (buy at support and sell at resistance). แต่ในความเป็นจริงการเข้าออเดอร์แบบนี้จะเกิดการเทรด 3 ประเภทใน 2 กรณี
- เทรดเดอร์ที่เฝ้ารอการเข้าซื้อ หรือ buy เมื่อราคาขึ้นไป
- ผู้ค้าที่กำลังจะขาย หรือ sellและรอให้ราคาลง
- เทรดเดอร์ที่ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน

ในกรณีที่ 1 ราคาดีดขึ้นจากแนวรับ
- เทรดเดอร์ที่รอซื้อ หรือ buy จะมีความสุขอย่างมากกับการทำกำไร และเฝ้ารอการซื้อเพิ่มเติมเมื่อราคาไปถึงแนวรับถัดไป
- เทรดเดอร์ที่รอขาย หรือ sell จะผลาดออเดอร์นี้ไป หรือขาดทุนจากการ sell และเฝ้ารอที่จะ buy แก้ตัว เมื่อราคาถึงแนวรับถัดไป
- เทรดเดอร์ที่ยังมองไม่ออก ตอนนี้จะเริ่มจับแนวทางได้แล้ว และจะรอซื้อที่แนวรับถัดไป
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทรดเดอร์ทั้ง 3 ประเภทจะมีโอกาสที่ดีสำหรับการเข้าออเดอร์กับแนวรับที่ราคาดีดตัวขึ้น
ในกรณีที่ 2 ราคาดิ่งลงทะลุแนวรับ
ราคาสามารถลดลงผ่านระดับแนวรับและพบกับแนวรับที่ระดับอื่น ในกรณีนี้ระดับแนวรับเดิมจะกลายเป็นแนวต้าน นี่คือวิธีที่เทรดเดอร์ทั้ง 3 ประเภทจะปฏิบัติ
- เทรดเดอร์ที่เข้าออเดอร์ซื้อไว้ จะต้องรอให้ราคากลับมาเทสที่แนวรับเดิมหรือใกล้เคียงแล้วขายออกเพื่อตัดขาดทุน
- แต่สำหรับเทรดเดอร์ที่รอขาย หรือ sell ก่อนหน้านี้จะถือโอกาสขายเพิ่มเติม
- เทรดเดอร์ประเภทที่ 3 สามารถที่จะรอคอยและเข้าทำการขายทีหลังได้

แนวรับและแนวต้าน = อารมณ์ของตลาด
ดังนั้นในเชิงของเทคนิค เทรดเดอร์อาจจะต้องดูหลายส่วนในการประกอบการตัดสินใจ โดยเฉพาะแท่งเทียนที่จะยืนยันการกลับตัว หรือการทะลุแนวรับ – แนวต้าน ซึ่งเทคนิคเหล่านี้สำหรับเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์มักจะคาดการณ์หรือวิเคราะห์ได้ค่อนข้างแม่นยำ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของราคาคืออารมณ์ เช่นความกลัว, ความโลภ, การมองโลกในแง่ดีและการมองโลกในแง่ร้าย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น สมมติว่า ราคาทะลุแนวรับลงไป เทรดเดอร์ที่ซื้อ (buy) ก่อนหน้านี้ หากมองโลกในแง่ดี ก็จะมีความหวังว่าราคาจะดีดขึ้นทดสอบแนวรับนี้ใหม่ และกลับขึ้นมาสู่จุดเดิม พวกเขาจึงเข้าซื้อเพิ่มเติม แทนที่จะมองเห็นหลักความเป็นจริง ขายเพื่อตัดขาดทุนแล้วรอเข้า sell ในแนวรับถัดไป ในขณะเดียวกัน เทรดเดอร์ sell ที่มองโลกในแง่ร้าย เมื่อเริ่มเห็นว่า ราคาจะดีดขึ้นที่แนวรับ พวกเขาก็ขายออเดอร์ที่ถืออยู่ออกไป คิดว่า ได้กำไรนิดหน่อยจะดีกว่าขาดทุน แต่กลับกลายเป็นว่า พวกเขาตัดสินใจผิดราคาดิ่งลงต่อไปอย่างน่าเสียดาย
การเทรดที่แนวรับ – แนวต้านนี้ จึงเป็นการเทรดแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีแรงดึงดูดและมีความคาดหวังสูงในการเข้าทำการซื้อขาย
บทความแนะนำ :
หมายเหตุ : ผู้ลงทุนควรพิจารณาถึงลักษณะความเสี่ยง และสภาพตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละชนิดอย่างรอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุน เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนยอมรับได้